เรียบง่าย อยู่สบาย ไม่วุ่นวายในวันพักผ่อน มองวิวทะเลสีคราม สัมผัสมนต์เสน่ห์แห่งเมืองใต้ ราคาดี โดนใจ ไม่รีบจอง พลาดแล้วจะเสียใจ ———————— Let’s get e-coupon and shop like non-stop! Add Line @thailandgrandsale
SACICT CONCEPT 2020 โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบัน สร้างรายได้ให้ผู้ผลิตงานหัตถศิลป์ผ่านการเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรทางการค้า เพื่อความยั่งยืนของศิลปหัตถกรรมไทยอย่างแท้จริง SACICT CONCEPT 2020 หรือโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบัน โดย ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) ริเริ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาต้นแบบงานศิลปหัตถกรรมไทยให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน เน้นการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่มีการต่อยอดจากภูมิปัญญาดั้งเดิมให้มีความร่วมสมัย เพื่อให้งานศิลปหัตถกรรมสามารถจำหน่ายสร้างรายได้ให้ผู้ผลิต และชุมชนที่สร้างชิ้นงานได้อย่างแท้จริง นายอดิศักดิ์ จันทร์วิทัน รองผู้อำนวยการ
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 ธ.ค. 62 ที่ผ่านมา ดูเหมือนจะมีกิจกรรมน่าสนใจอีกกิจกรรมหนึ่ง อีเว้นท์สีเขียวที่พาเอาธรรมชาติเข้ามาหาเมือง “ปลูกเพื่อเปลี่ยน” กิจกรรมภายใต้โครงการ Green Bangkok 2030 ที่มีเป้าหมายอยากผลักดันสู่กรุงเทพสีเขียว อีกหนึ่งความน่าสนใจของกิจกรรมนี้คือโซนเวิร์คช้อปที่เรียกได้ว่าขนกิจกรรมกันมาให้หลายคนได้ลองทำกันอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างความเข้าใจใหม่ให้แก่คนทั่วไปว่า คน-เมือง-ธรรมชาติ ที่จริงแล้วเชื่อมต่อและมีวิธีที่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ ผู้เข้าร่วมจะได้เรียนรู้ผ่าน 4 กิจกรรมน่าสนใจ
อพท. ร่วมกับ The People จัดงานอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเขียนข่าวเพื่อสร้างประสิทธิผลด้านการสื่อสาร” เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์แก่บุคลากรนักการสื่อสารของ อพท. ณ โรงแรมเดอะควอเตอร์ ลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้ข่าวสารมีรูปแบบการเคลื่อนไหวที่เร็วขึ้น องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เล็งเห็นว่า การส่งเสริมทักษะด้านการสื่อสารแก่นักประชาสัมพันธ์ในองค์กรจะสามารถทำให้การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ของ อพท. มีประสิทธิภาพตรงกับกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงสร้างประโยชน์สูงสุดแก่องค์กรและผู้รับสารในประเทศได้ จึงเป็นที่มาของโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเขียนข่าวเพื่อสร้างประสิทธิผลด้านการสื่อสาร”
ก่อนหน้านี้ในกิจกรรมของปตท. อย่าง We Love PTT on Tour เราได้มีโอกาสเชื่อมต่อจาก คนไปหาเมือง และเมืองไปสู่ป่ากันมาแล้ว คราวนี้เป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้เชื่อมทุกอย่างที่กล่าวมาไปหา ‘ป่าใกล้ทะเล’ กันบ้าง กับการเดินทางครั้งที่ 3 ของ We Love PTT on Tour
นี่คือภาพความประทับใจจากกิจกรรมที่ 2 ของ We love PTT on tour @ วังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง เมื่อวันที่ 5-6 ต.ค.62 ที่ผ่านมา คราวนี้ปตท.อัดแน่นกันทั้งความรู้ และกิจกรรมที่จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า ‘คน เมือง ป่า’
จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อคนเมืองต้องไปเดินป่า? เมื่อวันที่ 13 ก.ย. 62 มีกิจกรรมน่าสนใจจากปตท.ที่ชวนตั้งคำถามว่าป่ากับเมืองนั้นสำคัญต่อกันอย่างไร โดยการพาผู้โชคดีไปร่วมเรียนรู้และทำกิจกรรมสนุกๆ กันที่ ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง นับเป็นประสบการณ์แปลกใหม่ที่ Craft ‘N’ Roll อดไม่ไหวที่จะเก็บเรื่องราวมาฝาก กิจกรรมนี้คือการพาผู้คนจาก ‘เมือง’ ไปสัมผัสกับ ‘ป่า’ เพื่อทำความเข้าใจถึงความสำคัญของป่า และปัญหาสิ่งแวดล้อม ป่าที่ว่านี้ไม่ใช่ป่าธรรมดา เพราะที่นี่เป็นป่าที่ประดิษฐ์ขึ้นจากฝีมือมนุษย์
“กก” นับเป็นวัตถุดิบยอดฮิตสำหรับสินค้างานจักสาน ด้วยคุณสมบัติที่ที่ยืดหยุ่นสามารถดัดงอตามรูปทรงที่ต้องการ และความทนทานไม่ฉีกขาดง่าย ก็ยิ่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์จากกกเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับใครที่ชอบสินค้าพื้นบ้าน ถึงจะบอกว่าเป็นที่นิยม แต่ก็ใช่ว่าทุกที่จะมีกกอยู่ พืชชนิดนี้จะเติบโตเฉพาะในบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำแหละแร่ธาตุในดินเพียงพอเท่านั้น นี่จึงเป็นเหตุผลให้ไม่ใช่ว่าหมู่บ้านไหนก็ตามนึกว่าหยิบกกมาสานเป็นสินค้าขายแล้วจะสามารถทำได้ แต่ด้วยด้วยลักษณะพื้นที่ ซึ่งมีแหล่งน้ำสำคัญของหมู่บ้านคือ อ่างเก็บน้ำหนองดุดและหนองโดก ซึ่งมีพื้นที่กว่า 2,000 ไร่ ทำหน้าที่ทั้งเป็นแหล่งอาหาร เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ เป็นแหล่งทำการเกษตรฤดูแล้ง และสวนกกเพื่อตัดเอามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์
ถ้าคุณเป็นคนรักของหวานที่ชอบทานขนมโบราณในแต่ละท้องถิ่น อย่าลืมแวะทานกาละแมโบราณของดีขึ้นชื่อประจำจังหวัดนครพนม อีกหนึ่งของฝากที่ต้องซื้อกลับบ้าน เพราะนอกจากเอกลักษณ์ทางด้านรสชาติและรสสัมผัส เจ้าก้อนสีดำเหนียวนุ่ม รสชาติหวานมัน ห่อใบตองหอมๆ ที่รีดด้วยเตาถ่านแบบโบราณ กลัดด้วยไม้กลัดทำจากไม้ไผ่อันเล็ก ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของกาละแมธาตุพนม ทุกการใช้จ่ายของคุณยังเป็นการอุดหนุนชาวบ้านจากแต่ละชุมชนไปเต็มๆ อีกด้วย เพราะขนมของฝากที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวนครพนมชนิดนี้ ล้วนมีคนนครพนมอยู่เบื้องหลังในทุกๆ องค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นชาวบ้านจังหวัดนครพนมแท้ ๆ ไม่ว่าจะเป็นใบตองสดที่มาจากกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกล้วย กลุ่มผู้รีดใบตองอาชีพที่สามารถสร้างรายได้จากการทำใบตองให้หอม
จังหวัดนครพนม นับว่าเป็นพื้นที่สำคัญซึ่งมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน และหลากหลาย เพราะเป็นที่ตั้งของกลุ่มชาติพันธุ์มากมาย ทำให้มีประเพณี วัฒนธรรมรวมถึงเครื่องแต่งกายที่เก่าแก่ และน่าสนใจหลายประเภท หนึ่งในนั้นคือมรดกทางภูมิปัญญาที่เพิ่งถูกประกาศให้เป็นเป็นงานฝีมือเก่าแก่คู่นครพนมอย่าง “ผ้ามุก” ผ้ามุก คือ ผ้าทอท้องถิ่น ซึ่งเป็นผ้าโบราณร่วมสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ เป็นผ้าชั้นสูงที่เจ้านายหรือภรรยาเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ใช้เป็นอาภรณ์ในการแต่งกาย และเป็นผ้าต้นแบบของผ้าพื้นบ้านทั้งหลาย ทั้งความละเอียดในการทอ และระยะเวลาที่ที่ยาวนานกว่าจะได้ออกมาสัก 1 ผืน ผ้ามุกจึงเป็นอีกหนึ่งสินค้าเด่นที่สำคัญของจังหวัดนครพนม
นครพนม พื้นที่อันอุดมไปด้วยความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมพื้นถิ่น คงไม่แปลกนักหากจะมีประเพณีการต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองอันแตกต่างหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือเมนูเครื่องดื่มพื้นบ้าน ที่ภายหลังถูกยกให้เป็นของฝากของดีประจำอำเภอเรณูนคร หากคุณเป็นชาวนครพนม หรือชอบไปเที่ยวจ.นครพนมบ่อยๆ ใช่แล้ว นี่คือเครื่องดื่มที่ถ้าคุณชื่นชอบการดื่มสาโทพื้นบ้านต้องไม่พลาด ‘เหล้าอุ’ นั่นเอง เหล้าอุ เป็นเครื่องดื่มมึนเมาที่มีรสชาติหวานกลมกล่อม มีดีกรีอยู่ที่ 5–10 ดีกรี สมัยก่อนถือเป็นเครื่องดื่มที่ชาวผู้ไทยหรือภูไท ที่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม มักจะทำไว้เพื่อเลี้ยงสังสรรค์ในงานบุญหรือนำมาต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง
เครื่องประดับเงินเป็นสิ่งที่ถูกส่งต่อแพร่หลายไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ส่งผลให้แม้จะเป็นเครื่องประดับที่ทำขึ้นจากแร่เงินเหมือนกัน แต่หน้าตารูปลักษณ์ของเครี่องเงินก็จะแตกต่างออกไปตามฝีมือของครูช่างแต่ละพื้นที่ เวลาพูดถึงเครื่องเงินอีสาน หลายคนอาจจะพุ่งเป้าไปมองถึงเครื่องประดับเงินเขวาสินรินทร์ จากจังหวัดสุรินทร์ ที่มีต้นกำเนิดสืบเชื้อสายจากเขมร และโด่งดังด้านการทำเครื่องเงินแบบ ตะเกา และปะเกือม แต่ที่จริงในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ในภาคอีสาน ก็ยังมีอัตลักษ์ของเครื่องเงินที่น่าสนใจซ่อนอยู่เช่นกัน จังหวัดเล็กๆ อย่าง นครพนม ก็เป็นอีกพื้นที่ซึ่งมีเอกลักษณ์ของเครื่องเงินที่น่าสนใจ ทั้งความบางและประณีตในการขึ้นรูปเงิน รวมถึงการตีลวดลาย จึงมีความแตกต่างจากงานจากฝั่งเขมรที่เน้นหนักไปทางการผลิตเครื่องประดับที่มีหน้าตาคล้ายเม็ดประคำ