📌นิยามของคำว่า “คราฟต์” ที่หลายคนนึกออกมากันนั้นมีนิยามที่ไม่เหมือนกัน แน่นอนว่าหากเราจะเข้าใจความหมายและนิยามของคราฟต์กันจริงๆ ก็ต้องเริ่มต้นที่มาที่ไปของงานคราฟต์กันก่อน บทความนี้ผมจะคุณไปท่องโลกเรื่องราวของงานคราฟต์กัน . 🤔สมัยก่อนคำว่า Craft มีการเขียนที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละยุคสมัยและแต่ละภาษา อย่างเช่น”Craft” เป็นคำจากภาษา middle English หรือ “Craeft” จากภาษา Old English หรือ
ผมมีโอกาสได้ไปดูการทำเครื่องปั้นดินเผาที่จังหวัดแห่งหนึ่ง ⚱ ผมได้เห็นขั้นตอน และวิธีการทำตั้งแต่เริ่มต้นจนออกมาเป็นจาน ชาม แต่ละชิ้น ที่ต้องอาศัยความประณีต ความละเอียดละลอ และความใส่ใจในทุกการทำทุกขั้นตอน ครั้งนี้หัวของผมก็มีคำถามที่นึกขึ้นมาว่า “เครื่องปั้นดินเผากับคนไทยอยู่ด้วยกันมานานแค่ไหนแล้วนะ เริ่มมาตั้งแต่ตอนไหน ในอดีตเครื่องปั้นดินเผาเป็นเขาทำกันอย่างไร และเป็นแบบไหนกันนะ❓” ทำให้ต้องอดหลับอดนอน หาคำตอบเรื่องนี้กันเลยทีเดียว . ✨ต้องบอกเลยว่า ‘เครื่องปั้นดินเผา’ เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตคนไทยมาอย่างยาวนาน
🍻“เบียร์” เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่สามารถบ่งบอกถึงวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ได้ เช่น ทางยุโรป หรืออเมริกานิยมดื่มเบียร์ไม่แช่เย็นเพราะประเทศเขามีอากาศหนาวมากอยู่แล้ว ทว่าประเทศไทยดื่มเบียร์เย็นต้องใส่แก้วมีน้ำแข็งเพราะอากาศร้อน ☀ ทำให้เห็นได้เลยว่าการดื่มเบียร์แต่ละที่นั่นแตกต่างกันเลย ดังนั้นเบียร์ถือเป็นหลักฐานสำคัญที่ยืนยันเรื่องอารยธรรมของมนุษย์ได้เป็นอย่างดีเลย ในบทความนี้ผมจะพาคุณย้อนรอยประวัติศาสตร์เบียร์โลกกัน . ✅หากจะพูดถึงต้นกำเนิดของเบียร์เราต้องย้อนกลับไปช่วง 9,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในช่วงยุคเมโสโปเตเมีย เบียร์ คือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดแรกของโลกที่ถือกำเนิดขึ้น (จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์) เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มมีอารยธรรมที่ชัดเจน
ใครนึกออกบ้างว่าสุราแบรนด์แรกของไทย คือ แบรนด์อะไรนะ? มีใครนึกออกไหม? . “สุรา” หรือ “เหล้า” เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมานานจนกลมกลืนเข้ากับวัฒนธรรม และประเพณีของคนไทยในทุกโอกาส จะงานแต่ง งานบวช งานรื่นเริงเฉลิมฉลอง และในโอกาสต่าง ๆ หรืองานวันเกิด (เกิดอยากจะกิน) จนทำให้คุณอาจเห็นแบรนด์สุรามาพอสมควร รวมถึงผมด้วยเช่นกัน ผมเลยเกิดความสงสัย
“สุรา” หรือ “เหล้า” 🍶ที่เราเรียกกันคุ้นปากกันนั้นเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมาตั้งแต่อดีต และกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม และประเพณีไปของเราไปแล้วก็ว่าได้ ทั้งหมดยิ่งตอกย้ำ และทำให้เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสุรามันอยู่ในทุกที่ทุกเวลาของเราทุกคน ในช่วงที่ผ่านมาไม่กี่ปี “สุราพื้นบ้าน” เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่🎉 . ✨แต่คุณรู้ไหม? ว่าสุราพื้นบ้านมีหลายประเภท และแตกต่างกันออกไป ผมคิดว่าบางคนถึงกับต้องร้อง เอ๊ะ!! ไม่ได้มีเพียงแค่เหล้าต้มหรอ? ครั้งนี้เรามาเรียนรู้สุราพื้นบ้านกันครับ 📌ประเภทของสุราพื้นบ้านในประเทศไทย
‘บ้านสวนกล้วย’ มีพื้นที่ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งทุนทางธรรมชาติ และทุนทางวัฒนธรรม มีป่าเขา ต้นไม้ สัตว์ป่า น้ำตก และลำคลองไหลผ่าน นับเป็นสถานที่ท่องเที่ยว Unseen อีกแห่งหนึ่งที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ผู้คนไม่พลุกพล่าน ชาวบ้านมีอัธยาศัยดี มีอาหารพื้นถิ่นไว้คอยบริการนักท่องเที่ยว รวมถึงสินค้าชุมชน และสินค้า OTOP ของชุมชนไว้จัดจำหน่าย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย
‘เหมืองแร่ลาบู’ ในอดีตเป็นเหมืองแร่ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยในยุคเริ่มแรกเหมืองแห่งนี้อยู่ในความครอบครองของเจ้าเมืองยะลา หลวงสวัสดิภักดี (ยิ้มซ้าย) ซึ่งต่อมาได้ ย้ายไปเป็นเจ้าเมืองยะหริ่ง และได้โอน กรรมสิทธิ์ของเหมืองเหล่านี้ไว้เป็นผล ประโยชน์ของเจ้าเมืองสงขลา ทั้งนี้แรงงานเหมืองในยุคแรกส่วนใหญ่เป็นชาวจีนทำเหมืองโดยใช้แรงงานคนในการ ทำเหมืองแร่ และบรรทุกแร่ออกจากเหมือง ด้วยช้าง
ประชากรส่วนใหญ่ใน ‘บ้านภู’ เป็นชาวผู้ไทอพยพมาจากเมืองคำอ้อเขียว และเมืองวัง ซึ่งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงในแคว้นสิบสองจุไท (เมืองวังในปัจจุบันคือบ้านนายม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) โดยโปรดเกล้าแต่งตั้งท้าวสีหนามจากเมืองคำอ้อเป็นเจ้าเมืองหนองสูงมีนามว่าพระไกรสรราช
เมืองถลางเป็นเมืองสำคัญมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรตามพรลิงค์ อาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรศิริธรรมนคร จนถึงสมัยอยุธยา และปรากฏนามเป็นลือเลื่องอีกครั้งใน ยุคของ “ท้าวเทพกษัตรีท้าวศรีสุนทร” หรือ ย่าจัน ย่ามุก ตามวิธีเรียกของชาว ภูเก็ต เป็นบุตรสาวของจอมร้างบ้านเคียน หรือจอมรั้งบ้านเคียน อดีตเจ้าเมืองถลาง
‘บ้านโป่งศรี’ ตั้งขึ้นราวพุทธศักราช 1350 เดิมหมู่บ้านมีแอ่งน้ำเกิดขึ้น ซึ่งมีน้ำใสไหลรินตลอดเวลา ซึ่งคนทั่วไปมักเรียกว่า ‘โป่ง‘ เพราะดินเป็นดินโป่ง มีรสเค็ม จึงมีสัตว์หลายชนิดชอบมากินดินโป่ง
‘บ้านศรีเวินชัย’ เดิมชื่อ ‘บ้านดงพระเนาว์’ เปลี่ยนชื่อเรียกอย่างทางการราวปีพุทธศักราช 2440 โดยตั้งชื่อเอาตามที่ตั้งที่อยู่ใกล้คุ้งน้ำกว้าง ไหลโค้งเป็นวังเวินบริเวณวังพระเนาว์เพื่อให้เป็นสิริมงคล และเป็นโชคชัยว่า “ศรีเวินชัย” อีกนัยหนึ่งเข้าใจว่าเป็นถิ่นที่รวมของดีและคนดี คือ “ศรีเวินชัย” ได้แก่ไหลเวินมารวมกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 อำเภอศรีสงคราม ได้แบ่งการปกครองบ้านศรีเวินชัย ออกเป็นสองหมู่บ้าน คือ
‘หมู่บ้านอ่าวสลัด’ ก่อตั้งมาประมาณ 100 กว่าปี ในสมัยก่อนมีโจรสลัดที่ออกปล้นสะดมเรือสินค้าและมาหลบพักอาศัยอยู่บริเวณอ่าวแห่งนี้เพื่อจอดเรือหลบคลื่นพายุและหลีกหนีการติดตามจับกุมของเจ้าหน้าที่ จึงเรียกบริเวณอ่าวนี้ว่า ‘หมู่บ้านอ่าวโจรสลัด’ ต่อมาโจรสลัดได้ถูกเจ้าหน้าที่ออกปราบปรามจับกุม ทำให้พื้นที่บริเวณอ่าวสลัดมีชาวบ้านอพยพมาอยู่อาศัยกันมากขึ้นเพราะมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ส่วนใหญ่อพยพมาจากหลาย ๆ หมู่บ้านในตำบลเกาะกูด ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจาก ‘หมู่บ้านอ่าวโจรสลัด’ เป็น ‘หมู่บ้านอ่าวสลัด’ ภายในชุมชนมีโปรแกรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่หลากหลาย อาทิ 👉 การทำอวนปู: