CRAFT INSIGHT

‘กาละแมโบราณ’ อร่อย หนึบเหนียว เกี่ยวรายได้เข้าชุมชนนครพนม

ถ้าคุณเป็นคนรักของหวานที่ชอบทานขนมโบราณในแต่ละท้องถิ่น อย่าลืมแวะทานกาละแมโบราณของดีขึ้นชื่อประจำจังหวัดนครพนม อีกหนึ่งของฝากที่ต้องซื้อกลับบ้าน เพราะนอกจากเอกลักษณ์ทางด้านรสชาติและรสสัมผัส เจ้าก้อนสีดำเหนียวนุ่ม รสชาติหวานมัน ห่อใบตองหอมๆ ที่รีดด้วยเตาถ่านแบบโบราณ กลัดด้วยไม้กลัดทำจากไม้ไผ่อันเล็ก ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของกาละแมธาตุพนม ทุกการใช้จ่ายของคุณยังเป็นการอุดหนุนชาวบ้านจากแต่ละชุมชนไปเต็มๆ อีกด้วย เพราะขนมของฝากที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวนครพนมชนิดนี้ ล้วนมีคนนครพนมอยู่เบื้องหลังในทุกๆ องค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นชาวบ้านจังหวัดนครพนมแท้ ๆ ไม่ว่าจะเป็นใบตองสดที่มาจากกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกล้วย กลุ่มผู้รีดใบตองอาชีพที่สามารถสร้างรายได้จากการทำใบตองให้หอม

‘ผ้าลายมุก’ มรดกแห่งภูมิปัญญา จ.นครพนม

จังหวัดนครพนม นับว่าเป็นพื้นที่สำคัญซึ่งมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน และหลากหลาย เพราะเป็นที่ตั้งของกลุ่มชาติพันธุ์มากมาย ทำให้มีประเพณี วัฒนธรรมรวมถึงเครื่องแต่งกายที่เก่าแก่ และน่าสนใจหลายประเภท หนึ่งในนั้นคือมรดกทางภูมิปัญญาที่เพิ่งถูกประกาศให้เป็นเป็นงานฝีมือเก่าแก่คู่นครพนมอย่าง “ผ้ามุก” ผ้ามุก คือ ผ้าทอท้องถิ่น ซึ่งเป็นผ้าโบราณร่วมสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ เป็นผ้าชั้นสูงที่เจ้านายหรือภรรยาเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ใช้เป็นอาภรณ์ในการแต่งกาย และเป็นผ้าต้นแบบของผ้าพื้นบ้านทั้งหลาย ทั้งความละเอียดในการทอ และระยะเวลาที่ที่ยาวนานกว่าจะได้ออกมาสัก 1 ผืน  ผ้ามุกจึงเป็นอีกหนึ่งสินค้าเด่นที่สำคัญของจังหวัดนครพนม

‘เหล้าอุ’ เรณูนคร สาโทพื้นบ้าน ของดีจังหวัดนครพนม

นครพนม พื้นที่อันอุดมไปด้วยความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมพื้นถิ่น คงไม่แปลกนักหากจะมีประเพณีการต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองอันแตกต่างหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือเมนูเครื่องดื่มพื้นบ้าน ที่ภายหลังถูกยกให้เป็นของฝากของดีประจำอำเภอเรณูนคร หากคุณเป็นชาวนครพนม หรือชอบไปเที่ยวจ.นครพนมบ่อยๆ ใช่แล้ว นี่คือเครื่องดื่มที่ถ้าคุณชื่นชอบการดื่มสาโทพื้นบ้านต้องไม่พลาด ‘เหล้าอุ’ นั่นเอง เหล้าอุ เป็นเครื่องดื่มมึนเมาที่มีรสชาติหวานกลมกล่อม มีดีกรีอยู่ที่ 5–10 ดีกรี สมัยก่อนถือเป็นเครื่องดื่มที่ชาวผู้ไทยหรือภูไท ที่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม มักจะทำไว้เพื่อเลี้ยงสังสรรค์ในงานบุญหรือนำมาต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง

เครื่องเงินนครพนม อัตลักษณ์เครื่องประดับริมฝั่งโขง

เครื่องประดับเงินเป็นสิ่งที่ถูกส่งต่อแพร่หลายไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ส่งผลให้แม้จะเป็นเครื่องประดับที่ทำขึ้นจากแร่เงินเหมือนกัน แต่หน้าตารูปลักษณ์ของเครี่องเงินก็จะแตกต่างออกไปตามฝีมือของครูช่างแต่ละพื้นที่ เวลาพูดถึงเครื่องเงินอีสาน หลายคนอาจจะพุ่งเป้าไปมองถึงเครื่องประดับเงินเขวาสินรินทร์ จากจังหวัดสุรินทร์ ที่มีต้นกำเนิดสืบเชื้อสายจากเขมร และโด่งดังด้านการทำเครื่องเงินแบบ ตะเกา และปะเกือม แต่ที่จริงในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ในภาคอีสาน ก็ยังมีอัตลักษ์ของเครื่องเงินที่น่าสนใจซ่อนอยู่เช่นกัน จังหวัดเล็กๆ อย่าง นครพนม ก็เป็นอีกพื้นที่ซึ่งมีเอกลักษณ์ของเครื่องเงินที่น่าสนใจ ทั้งความบางและประณีตในการขึ้นรูปเงิน รวมถึงการตีลวดลาย จึงมีความแตกต่างจากงานจากฝั่งเขมรที่เน้นหนักไปทางการผลิตเครื่องประดับที่มีหน้าตาคล้ายเม็ดประคำ

สัมผัสเสน่ห์ของ ‘ชาป่า’ จากยอดดอยประเทศไทย ที่ 1823 Tea Lounge by Ronnefeidt ณ Gaysorn Village

เวลาพูดถึงวัฒนธรรมการดื่มชาของไทย เป็นที่ทราบดีว่าใบชาที่ผลิต และนำเข้าจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นไต้หวัน จีน หรือประเทศในแถบยุโรป มักได้รับความนิยมมากกว่าใบชาที่ปลูกและผลิตในประเทศ . อาจเป็นเพราะความไว้วางใจในด้านคุณภาพ ทั้งการปลูก และแปรรูป ทำให้แม้จะมีสายพันธุ์ชาที่ดีอย่าง ชาพันธุ์อัสสัม (ชาจากต้นเมี่ยงที่ขึ้นตามธรรมชาติ) หรือชาพันธุ์จีน จากสายพันธุ์ชาลูกผสมของไต้หวัน (นิยมปลูกในแถบภาคเหนือของไทย) ยังไม่ได้รับการส่งเสริม และบริโภคในประเทศกันอย่างแพร่หลายนัก ทั้งที่หากได้เดินทางสูงขึ้นไปถึงระดับ

“เบียร์พระ” เครื่องดื่มศักดิ์สิทธิ์ จากโรงเบียร์สำนักสงฆ์

ถ้าพูดถึงประเทศไทย ไม่ว่าจะเหล้า เบียร์ หรือเครื่องดื่มใดๆ ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม ล้วนเป็นสิ่งชั่วร้าย เป็นเรื่องไม่ดี เป็นข้อห้ามที่ระบุไว้ในหลักเบญจศีลของพุทธศาสนา แต่ในโลกทางฝั่งตะวันตก เครื่องดื่มมึนเมากลับเป็นสิ่งที่ผูกติดอยู่กับทั้งสังคมและศาสนา แถมสำนักสงฆ์เอง ยังมีบทบาทกับอุตสาหกรรมเบียร์ ในฐานะผู้ผลิต บริโภค และจัดจำหน่ายเบียร์เองอีกด้วย   [เครื่องดื่มศักดิ์สิทธิ์] ในยุคกลาง เบียร์และคริสต์ศาสนาเป็นสิ่งที่ผูกโยงผู้คนกับโบสถ์ไว้อย่างแยกกันไม่ออก โรงเบียร์สงฆ์แห่งแรกเกิดขึ้นช่วงศตวรรษที่ 11

กว่าจะมาเป็น “ดินสอ” เครื่องเขียนเปลี่ยนโลก

“ดินสอ” เครื่องเขียนที่ใครก็ต้องเคยใช้ เคยซื้อใช้ เคยทำหาย แล้ววนกลับไปซื้อใหม่ ของธรรมดาที่แม้แต่เด็กเล็กๆ ก็ต้องรู้จักนี้ เคยสงสัยบ้างไหมว่ามันเกิดขึ้นมาจากไหน ทำจากอะไร แล้วทำไมถึงต้องมีรูปร่างหน้าตาแบบนี้  ดินสอไม้ ชื่อก็บอกแล้วว่าทำจากไม้ มีชั้นเคลือบบางๆ อยู่ภายนอก มียางลบตรงก้น มีแกนกลางสีดำที่ทำจากแกรไฟต์ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เกิดสี ดินเหนียว และน้ำ นี่คือส่วนผสมที่ลงตัวที่สุดในการสร้างดินสอไม้สักแท่ง ส่วนผสมที่ต้องใช้เวลาหลายศตวรรษ กว่าจะพัฒนาเป็นไอเดียนี้ออกมาได้

แนะนำ ‘ของดี 4 หมู่บ้าน’ เมืองเลย ขุมทรัพย์จากชุมชนที่รอให้คุณไปรู้จัก

  “เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม ดอกไม้งามสามฤดู ถิ่นที่อยู่อริยสงฆ์ มั่นคงความสะอาด”   หากคุณเป็นนักท่องเที่ยวผู้หลงรักธรรมชาติ และสนุกกับการผจญภัย แน่นอนว่าคงจะคุ้นหูกับข้อความข้างต้นกันอยู่บ้าง เพราะนี่คือคำอธิบายจังหวัดท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง และได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งของภาคอีสาน แม้จะเป็นจังหวัดเล็กๆ แต่ก็โดดเด่นด้วยภูมิประเทศที่โอบล้อมด้วยภูเขา และอากาศบริสุทธิ์ ถ้าคุณเป็นนักผจญภัยที่มีโอกาสได้ปีนป่ายขึ้นไปบนที่สูงเพื่อชมวิวจากยอดภูกระดึง ภูเรือ หรือภูหลวง ก็น่าจะร้องอ๋อกันแล้ว เพราะจังหวัดที่เรากำลังพูดถึงอยู่

โยเซกิ ไซกุ ศาสตร์การรังสรรค์ลวดลายจากไม้

ถ้าคุณเคยได้มีโอกาสไปเที่ยว เมืองฮาโกเนะ แหล่งออนเซ็นที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น ก็น่าจะเคยเห็นของฝากที่ทำจากไม้สีสันแปลกตากันมาบ้าง ลวดลายละเอียดประณีตที่อยู่บนข้าวของเหล่านี้ ไม่ได้เกิดจากการลงสีไปบนแผ่นไม้ แต่มาจากการนำไม้ต่างชนิดมาเรียงต่อกันเพื่อให้เกิดแพทเทิร์น นี่คือเทคนิคงานไม้ที่ชื่อ “โยเซกิ ไซกุ”   [วัตถุดิบมากมาย จุดขายเด่นชัด]   โยเซกิ ไซกุ เป็นงานหัตถกรรมไม้เก่าแก่ที่อยู่คู่กับเมืองฮาโกเนะมานานกว่า 150 ปี ด้วยพื้นที่ของ

เด็กหญิงโคเคชิ จากของฝากบ่อออนเซ็น สู่ป็อปคัลเจอร์

          จากของฝากออนเซ็นของภูมิภาคโทโฮคุสู่การกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมป็อปคัลเจอร์ ด้วยรูปร่างตุ๊กตาเด็กหญิงที่มีแค่ส่วนหัวกลม ๆ กับลำตัวทรงกระบอกที่ไม่ว่าใครเห็นเป็นต้องสะดุดตา   [จากของฝากออนเซ็นสู่ของสะสม]             คาดการณ์ว่าตุ๊กตาโคเคชิ (Kokeshi) ถูกประดิษฐ์ขึ้นช่วงปลายเอโดะ

คุมาโนะ จิตวิญญาณพู่กันอักษร สู่โลกของแปรงแต่งหน้า

ญี่ปุ่นมีศาสตร์อันละเอียดลออเรียกว่าการเขียนพู่กัน (โชะโด) บอกเล่าความงามผ่านตัวอักษร ว่ากันว่าลายมือสามารถบอกเล่าความนึกคิดและจิตใจของผู้เขียน พู่กันจึงนับเป็นเครื่องมือสำคัญที่ไม่เพียงใช้สื่อสารแต่ยังช่วยถ่ายทอดเจตนารมณ์ของศิลปินลงบนกระดาษ แม้ปัจจุบันความนิยมในการใช้พู่กันลดลง แต่ความเอาใจใส่ของช่างทำพู่กันแห่งเมืองคุมาโนะก็ไม่เคยเปลี่ยนไป พวกเขายังคงผลิตพู่กันชั้นเยี่ยม และเพิ่มเติมกลวิธีรังสรรค์พู่กันให้ปรับโฉมจากความดั้งเดิมไปสู่ตลาดความงาม โดยยังคงขั้นตอนอันประณีตซับซ้อนไว้   [จากพู่กันโบราณ]   คุมาโนะคือเมืองเล็กๆ โอบล้อมด้วยทิวเขาในจังหวัดฮิโรชิม่า นอกจากชื่อเสียงในด้านสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ คุมะโนะยังเป็นแหล่งผลิตพู่กันคุณภาพดีที่สุดของญี่ปุ่น หากว่ากันถึงจุดเริ่มต้น วิถีการทำพู่กันของคุมาโนะมีรากเก่าแก่ย้อนกลับไปถึงยุคเอโดะตอนปลาย (ค.ศ.

‘Water Bag Serie’ งานศิลป์จากแก้ว ที่จะทดสอบการรับรู้ของคุณ

สิ่งที่เห็น อาจไม่ใช่สิ่งที่เป็น คำกล่าวนี้จริงแท้แค่ไหน ดีแลน มาร์ติเนซ (Dylan Martinez) ศิลปินนักเป่าแก้ว จากวอชิงตัน จะมาช่วยพิสูจน์และทดสอบขอบเขตการรับรู้ของพวกคุณ ด้วยชุดประติมากรรมลวงตาที่มีชื่อว่า ‘Water Bag Serie’ หากมองครั้งแรก คุณอาจจะคิดว่านี่คือถุงพลาสติกบรรจุน้ำธรรมดาทั่วไป แบบเดียวกับที่เด็กๆ มักใช้ใส่ปลาทองเพื่ออุ้มกลับไปเลี้ยงที่บ้าน แต่เมื่อลองสังเกตดีๆ คุณอาจจะต้องแปลกใจเพราะนี่คือ