“ร่อนแร่ อาบป่า เข้าหาความสงบ”

‘เหมืองแร่ลาบู’ ในอดีตเป็นเหมืองแร่ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยในยุคเริ่มแรกเหมืองแห่งนี้อยู่ในความครอบครองของเจ้าเมืองยะลา หลวงสวัสดิภักดี (ยิ้มซ้าย) ซึ่งต่อมาได้ ย้ายไปเป็นเจ้าเมืองยะหริ่ง และได้โอน กรรมสิทธิ์ของเหมืองเหล่านี้ไว้เป็นผล ประโยชน์ของเจ้าเมืองสงขลา ทั้งนี้แรงงานเหมืองในยุคแรกส่วนใหญ่เป็นชาวจีนทำเหมืองโดยใช้แรงงานคนในการ ทำเหมืองแร่ และบรรทุกแร่ออกจากเหมือง ด้วยช้าง

ต่อมาออสเตรเลียได้ซื้อกิจการเหมืองแร่มาจากชาวจีน มีการสร้างโรงงานอาคาร และนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ มีการทำเหมืองแร่แบบขุดเจาะอุโมงค์ การขนส่งแร่ในยุคนั้นทำการขนส่งโดยใช้รถยนต์ เป็นยุคที่มีแรงงานจากต่างถิ่นเข้ามาทำงานเป็นจำนวนมาก ทำให้มีความเจริญรุ่งเรืองและเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในยุคสมัยนั้น จนมาถึง พ.ศ. 2500 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านขุนธำรงพันธุ์ภักดี (ธำรง วัฒนายากร) ได้มาเช่าสัมปทานเหมืองแร่ต่อ ในนามบริษัท ธำรงวัฒนา จำกัด และในปี พ.ศ. 2502 ทางบริษัทออสเตรเลียได้ขายสัมปทานเหมืองแร่ให้กับ บริษัทธำรงฯ อย่างเป็นทางการ ในยุคนี้มีการทำแร่ผิวดิน และได้ยกเลิกกิจการเมื่อ พ.ศ. 2535 เหตุผลเพราะราคาแร่ดีบุกตกต่ำมาก ราคาน้ำมันขึ้น และค่าแรงงานขึ้นราคา ทำให้เหมืองปิดตัวลง คนงานต่างพากันแยกย้ายออกจากพื้นที่ และได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวในปัจจุบัน

ภายในชุมชนมีโปรแกรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ให้ร่วม อาทิ


👉 อาบป่า หลบร้อน นอนแช่น้ำตก: คเดินท่องล่องสายป่า ชมความงดงามอันหลากหลายของธรรมชาติบ้านเหมืองลาบู ด้วยระยะทางที่ไม่ไกลเกินเดินถึงได้ ทั้งยังมีน้ำตกส่วนตัวที่ทุกคนสามารถสนุกสนานผ่อนคลาย ปล่อยร่างกาย จิตใจ ให้สายน้ำบำบัดความอ่อนล้า
👉 น้ำพริกใบทำมัง: ด้วยวัตถุดิบการปรุงอาหารหาได้ตามพื้นที่รอบบ้านไร้สารเคมี นอกจากนี้จะได้สนุกกับการช่วยแม่ครัวเก็บวัตถุดิบมาช่วยกันเตรียม ช่วยปรุง และร่วมกันทาน
👉 กองไฟชมดาว: ดื่มด่ำความผ่อนคลาย หลังจากเหน็ดเหนื่อยกันมาทั้งวันกับกิจกรรมต่าง ๆ มานั่งล้อมวงดื่มชา หมกหัวมันหอม ๆ นั่งสนทนารอบกองไฟ ภายใต้แสงดาวพราวฟ้า ท่ามกลางเสียงขับกล่อมของหริ่งเรไร กับสายลมบางเบาพัดผ่านพอให้สบายเนื้อสบายตัว

ช่องทางการติดต่อ Facebook: ชุมชนท่องเที่ยวเหมืองลาบู จังหวัดยะลา

#OTOPนวัตวิถี #โอทอปนวัตวิถีดีเกินร้อย #เที่ยวไทยวิถีใหม่100ชุมชน

Irawish Pitchayachannadontr
Categories: CRAFT INSIGHT , Insight