สายดื่มต้องดู!! สุราพื้นบ้านมีกี่ประเภท?

สุรา” หรือ “เหล้า” 🍶ที่เราเรียกกันคุ้นปากกันนั้นเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมาตั้งแต่อดีต และกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม และประเพณีไปของเราไปแล้วก็ว่าได้ ทั้งหมดยิ่งตอกย้ำ และทำให้เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสุรามันอยู่ในทุกที่ทุกเวลาของเราทุกคน ในช่วงที่ผ่านมาไม่กี่ปี “สุราพื้นบ้าน” เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่🎉

.

✨แต่คุณรู้ไหม? ว่าสุราพื้นบ้านมีหลายประเภท และแตกต่างกันออกไป ผมคิดว่าบางคนถึงกับต้องร้อง เอ๊ะ!! ไม่ได้มีเพียงแค่เหล้าต้มหรอ? ครั้งนี้เรามาเรียนรู้สุราพื้นบ้านกันครับ

📌ประเภทของสุราพื้นบ้านในประเทศไทย

✅สาโท เป็นสุราแช่ที่ทำจากข้าวหลากหลายชนิดที่ผ่านการหมักด้วยลูกแป้งเพื่อเปลี่ยนให้แป้งในข้าวกลายเป็นแอลกอฮอล์ โดยสาโทจะมีปริมาณแอลกอฮอล์ไม่เกิน 15 ดีกรี และมีสีขาวขุ่นเป็นเอกลักษณ์ ถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ไวน์ขาว มีรสชาติหวาน เก็บได้ไม่ได้เท่าไหร่ หลายคนที่เคยได้ริมลองก็ต้องติดใจในรสชาติกันแน่นอน

✅เหล้าอุ เป็นสุราที่กระบวนการทำคล้ายกับการทำสาโท แต่ส่วนผสมจะแตกต่างกัน และนำไปหมักไว้ในไห ใช้เวลาหมักเพียง 7 – 15 วันก็ได้เหล้าอุ ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ 10 ดีกรีออกมา หากใครสนใจเหล้าอุ สามารถหาได้ที่ชุมชนชาวผู้ไท หรือภูไท จ.นครพนม เพราะเป็นของขึ้นชื่อในชุมชน

✅เหล้าขาว เป็นสุราอีกหนึ่งประเภทที่ได้รับความนิยมมาตลอดช่วงหลาย 10 ปีที่ผ่าน โดยเหล้าขาวได้จากการหมักน้ำตาลจากข้าว ข้าวโพด หรืออ้อย ปราศจากการปรุงแต่งใด ๆ นอกจากน้ำ ทำให้มีปริมาณแอลกอฮอล์ 40 ดีกรีสูงกว่าสุราปกติทั่วไปที่เคยเห็นกัน

✅กะแช่ ใช้น้ำตาลสดหมักที่ได้มาจากปาดตาล โดยใช้กระบอกไม้รองจากปาดต้นตาล พร้อมใส่ไม้เคียน ไม้พะยอมไว้ในกระบอกไม้ด้วย หลังจากนั้นน้ำตาลที่ได้มาจะเปลี่ยนเป็นยีสต์ธรรมชาติใช้เวลามักเพียง 1 วันก็ได้แอลกอฮอล์ที่สามารถนำมาดื่มได้แล้ว

✅ยาดอง เชื่อว่าทุกคนน่าจะเคยเห็นกันมาบ้างแล้ว เหล้าสีแดงอยู่ในโหลแก้ว โดยใช้เหล้าขาวกับเครื่องสมุนไพรแห้งที่มีสรรพคุณต่าง ๆ มาหมักด้วยกัน แต่ละครั้งก็จะมีการใช้สมุนไพรในการหมักที่แตกต่างกันออกไป ปกติแล้วจะใช้เวลาหมักประมาณ 30 วัน 

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับข้อมูลสุราพื้นบ้านแบบไทยๆ ผมเชื่อว่าในประเทศไทยของเรายังมีสุราพื้นบ้านแอบซ่อนอยู่อีกมากมาย รวมถึงกระบวนการวิธีที่การทำสุราที่แตกต่างกันออกไปตามพื้นที่ที่ยังไม่ถูกค้นพบ หากใครรู้จักสุราพื้นบ้านดี ๆ ที่น่าสนใจสามารถคอมเมนต์บอกได้เลยครับ

Content Creator

Categories: CRAFT INSIGHT , Insight