“มาดีเจ๋อ เม๋อคึดฮอดบ้านภู”

ประชากรส่วนใหญ่ใน ‘บ้านภู’ เป็นชาวผู้ไทอพยพมาจากเมืองคำอ้อเขียว และเมืองวัง ซึ่งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงในแคว้นสิบสองจุไท (เมืองวังในปัจจุบันคือบ้านนายม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) โดยโปรดเกล้าแต่งตั้งท้าวสีหนามจากเมืองคำอ้อเป็นเจ้าเมืองหนองสูงมีนามว่าพระไกรสรราช

เมื่อ พ.ศ. 2424 ชาวเมืองหนองสูงบางส่วน ได้พากันอพยพย้ายถิ่นฐาน เนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่น หลังน้ำท่วมเกิดโรคระบาดรุนแรง พื้นที่ทำกินน้อยลง และในปีนั้นเองปรากฎว่ามีเสือมากินม้าของชาวบ้านที่เลี้ยงไว้ ชาวบ้านเชื่อว่าถ้าเสือกินม้าได้ต่อไปจะกินคนทำให้เกิดความหวาดกลัว จึงมีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้รวมตัวกันประมาณ 20 ครัวเรือน โดยการนำของ เจ้าสุโพธิ์สมบัติ เจ้ามหาสงคราม เจ้ามหาเสนาและเจ้ากิตติราช ได้พาชาวบ้านกลุ่มนี้อพยพลงมาทางใต้ข้ามภูเขามาตั้งถิ่นฐานอยู่บนฝั่งขวาของ ห้วยกระเบียน ซึ่งมีเจ้าเมืองนนท์ ได้มาอาศัยอยู่ก่อนแล้ว แต่เนื่องจากเจ้าเมืองนนท์เป็นผู้มีวิชาคาถาอาคมแก่กล้า จึงมีคนกล่าวหาว่าเป็นผีอป เจ้าเมืองนนท์กับชาวบ้านอีกส่วนหนึ่งจึงพากันย้ายมาอยู่ที่นาผักขะญ้าเรียกชื่อว่า บ้านหลุบภู ให้เจ้าสุโพธิ์สมบัติเป็นหัวหน้าหมู่บ้านและที่ตรงนั้นเป็นหุบเขาทำให้มีปัญหาน้ำท่วมทุกปี เมื่อประมาณ พ.ศ. 2945 จึงได้พาราษฎรอพยพมาตั้งอยู่บนเนินเขา ซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านในปัจจุบัน ต่อมาเมื่อทางราชการได้สำรวจเขตแดนเมือง เขตหมู่บ้าน ‘บ้านหลุบภู’ จึงได้เปลี่ยนขอเป็น ‘บ้านภู‘ และได้เรียกชื่อ ‘บ้านภู‘ มาจนถึงปัจจุบัน

ภายในชุมชนมีโปรแกรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ให้ร่วมมากมาย อาทิเช่น


👉 ลงข่วงเข็นฝ้าย: ภูมิปัญญาโบราณในการทำเส้นฝ้ายด้วยมือ กระบวนการที่ค่อย ๆ จะสูญหายไปจากวิถีชีวิต เริ่มจากปลูกเส้นฝ้าย เก็บดอกฝ้าย คัดแยกดอกฝ้ายแล้วจึง อิ้ง – ดีด – ม้วน – เข็น – เป ออกมาเป็นเส้นด้าย เพื่อใช้ในวิถีชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะนำไปทอเป็นเครื่องนุ่งห่ม หรือใช้ในพิธีกรรมบายศรีสู่ขวัญ หรือในงานพิธีกรรมทางศาสนาต่าง ๆ
👉 แกงกะบั้ง: เป็นอาหารพื้นบ้านของชาวผู้ไทบ้านภู ‘กะบั้ง’ ในภาษาอีสาน แปลว่า กระบอกไม้ไผ่ โดยปกติเราจะทำอาหารส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะแกงหรือต้ม เราจะใส่หม้อ แต่คนผู้ไทสมัยก่อน ไม่มีอุปกรณ์พวกนี้เลยจำเป็นต้องพลิกแพลงจากกระบอกไม้ไผ่มาใช้แทนหม้อ ซึ่งปัจจุบันไม่ค่อยมีให้เห็น คนผู้ไทจึงนำแกงกะบั้งมาเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น แกงกะบั้งจะไม่ได้แกงให้กินง่าย ๆ หากไม่ใช่งานใหญ่ ๆ เพราะต้องใช้กรรมวิธีการทำค่อนข้างยาก แต่เมื่อได้รับประทานแล้วจะติดใจ เพราะการนำอาหารไปแกงใส่กะบั้งจะมีกลิ่นหอมจากไม้ไผ่ เพราะชาวบ้านต้องขึ้นไปตัดไม้ไผ่โก๊ะบนเขา แกงกะบั้งจึงเป็นแกงที่หากินได้ยากสำหรับคนปัจจุบัน
.
ช่องทางการติดต่อ Facebook: บ้านภูโฮมสเตย์
.
#OTOPนวัตวิถี #โอทอปนวัตวิถีดีเกินร้อย #เที่ยวไทยวิถีใหม่100ชุมชน

Irawish Pitchayachannadontr
Categories: CRAFT INSIGHT , Insight